สารบัญ
สหพันธ์กีฬาเพาะกายและฟิตเนสโลก เดินหน้าจัด “อาเซียน เพาะกาย แอนด์ ฟิตเนส แชมเปี้ยนชิพส์” เจ้าภาพ อินโดนีเซีย กำหนด 8-12 มิ.ย.นี้ เผยที่มาจัดแข่งเพาะกายครั้งนี้ เพื่อทดแทนกรณีที่กัมพูชาเป็นเจ้าภาพ “ซีเกมส์” ตัดกีฬาชนิดนี้ออกจากการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาเพาะกายและฟิตเนสโลก (WBPF) มอบหมายให้อินโดนีเซียเป็นผู้จัดการแข่งขันเพาะกายและฟิตเนสชิงแชมป์อาเซียน ครั้งที่ 17 เพื่อทดแทนการแข่งขันกีฬาเพาะกาย “ซีเกมส์”ครั้งที่ 32 ซึ่งเป็นประเทศเจ้าภาพ กัมพูชา ไม่พร้อมจัดการแข่งขันกีฬา“ซีเกมส์ 2023” สำหรับประเทศไทยสมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทยจะส่งนักกีฬาชุดเตรียมซีเกมส์ชิงแชมป์อาเซียนที่ประเทศอินโดนีเซีย
สุกรี สุภาวรีกุล นายกสมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทย ในฐานะเลขาธิการร่วมสหพันธ์กีฬาเพาะกายและฟิตเนสโลก (WBPF) เปิดเผยว่า สหพันธ์กีฬาเพาะกายและฟิตเนสโลก (WBPF) มีมติให้สหพันธ์กีฬาเพาะกายอินโดนีเซีย การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเพาะกายชิงแชมป์เอเชีย ทดแทนกรณี “ซีเกมส์ 2023” ประเทศเจ้าภาพอย่างกัมพูชา“ซีเกมส์”เพาะกายไม่รวมอยู่ในการแข่งขัน
การแข่งขันเพาะกายชิงแชมป์อาเซียน ครั้งที่ 17 มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 8-12 มิ.ย. และขณะนี้ได้แจ้งไปยังประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียนเพื่อทราบกำหนดการแข่งขันนี้แล้ว สำหรับประเทศไทยสมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทยจะส่งนักกีฬาชุดเตรียมซีเกมส์ที่ผ่านการฝึกซ้อมเข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์อาเซียนในครั้งนี้
ขณะนี้สมาคมได้ทำหนังสือถึงการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ผ่านคณะกรรมการกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการส่งนักกีฬาเพาะกายทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์อาเซียน ทั้งนี้การส่งนักกีฬาเข้าร่วมดังกล่าวเพื่อเป็นการพัฒนานักกีฬาเพาะกายของไทยต่อไปให้พัฒนาในระดับนานาชาติต่อไปและเป็นการเตรียมนักกีฬาไทยสำหรับการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ในปี 2568 ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ นายศุกรีย์ กล่าว
กัมพูชา เจ้าภาพซีเกมส์ ครั้งที่ 32 แข่งขัน 5-17 พ.ค. จ่อตัดกีฬาเพาะกาย ออกจากการแข่งขันซีเกมส์เนื่องจากปัญหาภายในประเทศ คณะกรรมการจัดการแข่งขันซีเกมส์กัมพูชา (CAMSOC) ได้ส่งหนังสือถึงคณะกรรมการโอลิมปิกในประเทศอาเซียน ถึงการยกเลิกการแข่งขันเพาะกายโดยปัญหาเบื้องต้นที่กัมพูชางดจัดกีฬาเพาะกายในซีเกมส์เนื่องจากปัญหาภายในประเทศกัมพูชาที่สมาพันธ์เพาะกายกัมพูชาไม่สามารถแก้ปัญหาการควบคุมสารต้องห้ามในนักกีฬาได้
ต่อจากซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ที่ประเทศเวียดนาม โดยขณะนั้น กัมพูชาเตรียมส่งนักกีฬา 4 คนเข้าร่วมการแข่งขัน แต่ไม่สามารถส่งเข้าร่วมการแข่งขันได้เนื่องจากติดปัญหาการตรวจหาสารต้องห้าม ทำให้กัมพูชางดส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันสำหรับกีฬาเพาะกายต้องตรวจหาสารกระตุ้นก่อนการแข่งขัน 3 สัปดาห์ หากชาติใดพบสารกระตุ้นก็จะไม่สามารถส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันได้ อย่างซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ที่เวียดนามเป็นเจ้าภาพก็มีหลายชาติ พบใช้สารต้องห้าม ทำให้ถอนตัว และไม่สามารถแข่งขันได้
จากกรณีของกัมพูชาที่ส่งนักกีฬาไปแข่งขัน 4 คน แต่พบปัญหาสารต้องห้ามในตัวนักกีฬาทำให้ไม่สามารถเดินทางไปแข่งขันซีเกมส์ที่ประเทศเวียดนามได้ ทำให้รัฐบาล กัมพูชา โดยกระทรวงกีฬากัมพูชาได้ให้ทาง สมาคมเพาะกายกัมพูชาแก้ปัญหานี้. แต่ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข และกลายเป็นประเด็นต่อเนื่องมาจนถึงซีเกมส์ที่กัมพูชาเป็นเจ้าภาพ เดิมทีกีฬาเพาะกายในซีเกมส์ที่กัมพูชากำหนดให้แข่งขันทั้งหมด 5 รุ่น
กัมพูชาได้มีการหารือภายในระหว่างรัฐบาล กับสมาคมเพาะกายกัมพูชาเพื่อป้องกันการใช้สารต้องห้ามไม่ให้เกิดขึ้นกับนักกีฬา ซึ่งสมาคมเพาะกายกัมพูชารับปากว่าจะแก้ปัญหาในเรื่องนี้ แต่เดือน พ.ย.ที่ผ่านมามีการแข่งขันเพาะกายในประเทศ เป็นการแข่งขันกีฬาแห่งชาติกัมพูชา พบว่านักกีฬาใช้สารกระตุ้นพร่ำเพรื่อ แสดงให้เห็นว่าสมาคมเพาะกายกัมพูชาไม่สามารถรับประกันกับรัฐบาลว่าจะไม่พบปัญหาการใช้สารกระตุ้นในนักกีฬา นี่จึงเป็นที่มาของการยกเลิกการแข่งขันเพาะกายในซีเกมส์ เพื่อไม่ให้เจ้าภาพเสีย
ภาพประกอบจากสมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทย
#กมพชาไมสะดวกจดเพาะกายซเกมสสหพนธฯลยเองมอบอนโดนเซยเจาภาพ